รอ “ครม.” ปลดล็อก บขส. ขนส่งสินค้าทั่วไทย

นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการพัฒนาสถานีเดินรถในต่างจังหวัดให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าข้ามภาค เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการ และเพิ่มการอำนวยความสะดวกให้สามารถรับฝากส่งพัสดุภัณฑ์แบบข้ามภาคได้นั้น ขณะนี้รอกระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อทบทวนมติ ครมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เมื่อปี2502ที่กำหนดเพียงให้ บขส. มีหน้าที่ในการขนส่งเฉพาะผู้โดยสาร และองค์การรับส่งพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) ที่ได้มีการยุบเลิกไปแล้ว ทำหน้าที่ในการขนส่งสินค้า โดยจะเปลี่ยนแปลงให้ บขส. สามารถดำเนินกิจการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ได้ทุกรูปแบบอย่างเต็มที่ จากที่ให้บริการเพียงการรับขนส่งสินค้าใต้ท้องรถโดยสารประจำทางเท่านั้น หาก ครมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เห็นชอบแล้ว บขส. เตรียมแผนความพร้อมในการรองรับให้บริการดังกล่าวทันที

เบื้องต้นจะดำเนินการในสถานีเดินรถนำร่อง 4 แห่ง ได้แก่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น และนครราชสีมา ที่จะเป็นศูนย์รับส่งพัสดุภัณฑ์ข้ามภาค จากทั้งหมดที่มีสถานีเดินรถกว่า 94 แห่งทั่วประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ รวมทั้งเส้นทางคมนาคมขนส่งทางถนน สามารถใช้เป็นเส้นทางกระจายสินค้า ลำเลียงวัตถุดิบ และส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาคได้ 

นายสัญลักข์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ บขส. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานีเดินรถหาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา พบว่า สถานีเดินรถแห่งนี้มีศักยภาพที่พัฒนาศูนย์กระจายสินค้าข้ามภาคได้ เพราะที่หาดใหญ่มีการขนส่งพัสดุภัณฑ์จำนวนมากหลากหลายประเภท อาทิ ผลไม้ และสินค้าทั่วไป ที่สำคัญจะสามารถกระจายสินค้าไปยังพื้นที่จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่ง บขส. มีการเดินรถโดยสารอยู่แล้ว ดังนั้นต้องจัดทำแผนพัฒนาให้ชัดเจนต่อไป

ขณะเดียวกันมีพันธมิตรหลายแห่งที่สนใจในการให้บริการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะในรูปแบบการขนส่งจากสถานีเดินรถไปยังบ้านของผู้ใช้บริการ เพื่อความสะดวกในใช้บริการมากขึ้น ซึ่งพันธมิตรนี้ บขส. เปิดกว้างไม่ได้ผูกขาดกับหน่วยงานไหน ที่ผ่านมามีการหลายหน่วยงานเข้ามาหารือเรื่องนี้แล้ว เช่นบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด,โรบินฮู้ด(Robinhood)และ ช้อปปี้(Shopee)

ทั้งนี้ขอยืนยันว่า บขส. ไม่ได้ดำเนินธุรกิจนี้เพื่อแข่งขันกับเอกชนแต่อยากหารายได้เพิ่มเติมเท่านั้น ซึ่งตั้งเป้าไว้มีจากการขนส่งพัสดุภัณฑ์ประมาณ 150-200 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ ปัจจุบัน บขส. มีรายได้จากดำเนินการดังกล่าวประมาณ 5%ในตลาดขนส่งพัสดุภัณฑ์ที่มีมูลค่า 6 หมื่นกว่าล้านบาท ดังนั้น บขส. ขอมีรายได้เพิ่มอีกสัก 5%ในตลาดธุรกิจขนส่งพัสดุภัณฑ์ เพื่อสามารถเลี้ยงองค์กรได้ เพราะที่ผ่านมาผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เดินรถโดยสารได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากการเดินรถ