ประเทศไทย กำลังเงินฝืด- คนไม่อยากใช้เงิน- ของถูกลง-

หลายคน อาจจะเคยได้ยินคำว่า เงินฝืด แต่จะ ฝืด อย่างไรหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ และที่ นายกฯ เศรษฐา บอกว่าไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืด มันเป็นจริงไหม มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

เปิดรายชื่อ บอร์ด กนง. ผู้ชี้ชะตาดอกเบี้ยไทย 5 ต่อ 2 เสียง คงไว้ 2.50%

เจาะลึกภาษีที่ดินการเกษตร พร้อมทริคทำที่รกร้างให้มีมูลค่า

คำว่า เงินฝืด เราได้ยินครั้งล่าสุดคือจาก นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน บอกว่า ตัวเลขมันชัดเจนอยู่แล้วเงินเฟ้อ (Inflation) ไม่ใช่ปัญหา แต่ตอนนี้ประเทศไทย กำลังจะเจอปัญหาภาวะเงินฝืด (Deflation) แล้ว ก็เลยเกิดคำถาม ตัวโตๆ ว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืดแล้วหรือเปล่า แล้วเงินฝืด คือ อะไร

แบงก์ชาติ ให้ความหมายว่า ภาวะเงินฝืด เป็นภาวะที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อยๆ เพราะสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตออกมามีมากกว่าความต้องการซื้อสินค้าของคนในประเทศ ก็เลยหยุดการผลิต อีกนัยหนึ่งคือ คนในประเทศไม่ได้จับจ่ายใช้สอยจนทำให้สินค้าเหลืออยู่ในท้องตลาดมากกว่าปกตินั่นเอง

ที่นี่ไปดูที่ตัวเลขเงินเฟ้อ เงินเฟ้อติดลบติดต่อกันมาเข้าเดือนที่ 4 ลบ 1.11% และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน เป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่อาจทำให้เราไม่สู่ภาวะ “เงินฝืด”

แต่….มีทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย และ นักวิเคราะห์จาก ธนาคารใหญ่ ออกมาบอกอีกมุมว่า ประเทศไทยยังไม่ถึงจุดที่เรียกว่า เงินฝืดเพราะราคาสินค้าไม่ได้ปรับลดลงเป็นวงกว้าง ถ้าไม่รวมมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงเป็นบวก และยังไม่มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงของภาวะเงินฝืด

เช่นเดียวกับมุมมองของ ดร.ฐิติมา จากไทยพาณิชย์ เนื่องจากไทยก็ยังห่างจากจุดนั้น เพราะตอนนี้ก็เห็นว่าสินค้าส่วนใหญ่ราคายังคงปรับขึ้นไม่ถูกลง

นอกจากนั้นแล้ว นักวิเคราะห์จากธนาคารกรุงไทย คือ กรุงไทย คอมพาส มองว่ายังมีโอกาสที่จะทำให้เกิดเงินเฟ้อด้วยซ้ำ ก็คือของแพงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน เพราะยังมีปัญหาความขัดแย้งในทะเลแดงคำพูดจาก สล็อต777

 ประเทศไทย กำลังเงินฝืด- คนไม่อยากใช้เงิน- ของถูกลง-

“ญี่ปุ่น” เป็นประเทศที่ตกอยู่ในภาวะเงินฝืดมายาวนาน 25 ปี

แล้วในโลกใบนี้มีประเทศไหนที่ เกิดภาวะเงินฝืด หรือไม่ คำตอบคือ “ ญี่ปุ่น” ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ตกอยู่ในภาวะเงินฝืดมายาวนาน 25 ปี ตั้งแต่เกิดฟองสบู่แตกในช่วงยุค 90 ทำให้ประชาชนไม่กล้าใช้เงินเลย เพราะความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจจนถึงวันนี้ แม้ว่ารัฐบาลพยายามที่จะพาประเทศให้หลุดพ้นจากภาวะเงินฝืด และเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น เช่น เอกชนขานรับนโยบายรัฐบาลญี่ปุ่นขึ้นค่าจ้างในปี 2567 เพื่อเพิ่มเงินในกระเป๋าคน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อก็เริ่มสูงขึ้นมากกว่าเป้าหมาย

คงจะพอที่จะทำให้ เข้าใจเรื่องเงินเฟ้อ เงินฝืด บ้าง แต่ไม่ว่าเงินเฟ้อ หรือเงินฝืด ก็ไม่ดีต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้ง 2 อย่าง ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ให้อยู่ในภาวะสมดุล และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน